wellcome

ครูนา ยินดีต้อนรับ ทุกท่านเข้าสู่การเรียนรู้วิชาดนตรีสากล

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เส้นน้อย


เส้นน้อย (Ledger Lines)
เส้นน้อย คือ เส้นสั้นๆ ที่อยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าบรรทัดห้าเส้น มีระยะห่างเท่ากับบรรทัดห้าเส้นโน้ตที่อยู่ต่ำหรือสูงมากๆ จะต้องอาศัยเส้นน้อยตามลำดับ เช่นโน้ตที่คาบเส้นจะเรียงลำดับกับโน้ตที่อยู่ในช่องถ้าหากเส้นน้อยมีมากกว่าสามเส้น ควรใช้วิธีการเปลี่ยนกุญแจประจำหลักหรือใช้เครื่องหมายคู่แปดช่วย เพื่อให้สะดวกต่อการอ่าน


ภาพ 2  แสดงลักษณะของเส้นน้อย

บรรทัด 5 เส้น


บรรทัด 5 เส้น (Staff)
บรรทัดห้าเส้น (Staff) ประกอบด้วยเส้นตรงขนานกันจำนวน 5 เส้น และช่องบรรทัดจำนวน 4 ช่อง โดยเส้นบรรทัดมีระยะห่างเท่ากัน การนับเส้นหรือบรรทัดห้าเส้นให้นับตามลำดับจากล่างไปบนโดยนับเส้นหรือช่องล่างสุดเป็น 1 2 3 4 5 ตามลำดับ ในการบันทึกตัวโน้ตและสัญลักษณ์ต่างๆ ทางดนตรีสากลจะบันทึกบนบรรทัดห้าเส้นเป็นหลัก


ภาพ 1  แสดงลักษณะของบรรทัด 5 เส้น


ระบบเสียงตัวโน้ต


ระบบเสียงตัวโน้ต
1. ระบบเสียงโซฟา (So-Fa system)
ใช้เรียกตัวโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ดังนี้ โด (Do) เร (Re) มี (Mi) ฟา (Fa) ซอล (Sol) ลา (La) ที (Ti)
ตาราง 1 แสดงความสัมพันธ์ของระบบเสียงโซฟาในรูปพยัญชนะอังกฤษ  พยัญชนะไทย
C
D
E
F
G
A
B
โด
เร
มี
ฟา
ซอล
ลา
ที
Do
Re
Mi
Fa
Sol
La
Ti
2.  ระบบเสียงตัวอักษร (Latter system)
ใช้เรียกชื่อโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ดังนี้ A B C D E F G โดยใช้ตัวอักษร A แทนด้วยตัว ลา
ตาราง 2 แสดงความสัมพันธ์ของระบบตัวอักษรในรูปพยัญชนะอังกฤษ  พยัญชนะไทย

A
B
C
D
E
F
G
ลา
ที
โด
เร
มี
ฟา
ซอล
La
Ti
Do
Re
Mi
Fa
Sol

หัวข้อที่ควรศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีขั้นพื้นฐาน





💫 เส้นกั้นห้อง  (Barline)
💫 ตัวโน้ต
💫 ตัวหยุด
💫 การเพิ่มค่าตัวโน้ต
💫 กุญแจประจำหลัก (Clef) 
💫 เครื่องหมายแปลงเสียง (Accidentals) 
💫 เครื่องหมายกำหนดจังหวะ  (time singnatur)
💫 กุญแจเสียง (Key Signature)
💫 ขั้นคู่เสียง (Interval)
💫 คอร์ด triad
💫 บันไดเสียง
💫 กลุ่มคอร์ด